วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555


ความหมายของคอมพิวเตอร์

 คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" 
        คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป  นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้ 

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก  ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้


   1. งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
   2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ  หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
   3. งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
   4. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
   5. งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
   6. การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด

ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ
หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง   โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค

ยุคที่หนึ่ง (First Generation Computer) พ.ศ. 2489-2501
ยุคที่สอง (Second Generation Computer) พ.ศ. 2502-2506
ยุคที่สาม (Third Generation Computer) พ.ศ. 2507-2512
ยุคที่สี่ (Fourth Generation Computer) พ.ศ. 2513-2532
ยุคที่ห้า (Fifth Generation Computer) พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
                สำหรับคอมพิวเตอร์นั้น  จะมีส่วนประกอบหลัก ๆ อยู่ 4 ส่วนด้วยกัน คือ
1.        โปรเซสเซอร์ (Processor)
2.        หน่วยความจำ(Memory)
3.        ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output)
4.        สื่อจัดเก็บข้อมูล(Storage)

1.  โปรเซสเซอร์ (Processor)
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
     
หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนประสำคัญ 3 ส่วน คือ
1. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
     หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวข้องกับ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคำนวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจำนวน 2 จำนวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามคำสั่งใดของโปรแกรมเป็น คําสั่งต่อไป

2. หน่วยควบคุม (Control Unit)
     หน่วยควบคุมทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผลและการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย เมื่อผู้ใช้ต้องการประมวลผล ตามชุดคำสั่งใด ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลและชุดคำสั่งนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยข้อมูล และชุดคำสั่งดังกล่าวจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักก่อน จากนั้นหน่วยควบคุมจะดึงคำสั่งจาก ชุดคำสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจำหลักออกมาทีละคำสั่งเพื่อทำการแปล ความหมายว่าคำสั่งดังกล่าวสั่งให้ ฮาร์ดแวร์ส่วนใด ทำงานอะไรกับข้อมูลตัวใด เมื่อทราบความหมายของ คำสั่งนั้นแล้ว หน่วยควบคุมก็จะส่ง สัญญาณคำสั่งไปยังฮาร์แวร์ ส่วนที่ทำหน้าที่ ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทำตามคำสั่งนั้น ๆ เช่น ถ้าคำสั่ง ที่เข้ามานั้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คำสั่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ ให้ทำงาน หน่วยคำนวณและตรรกะก็จะไปทำการดึงข้อมูลจาก หน่วยความจำหลักเข้ามาประมวลผล ตามคำสั่งแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงยังอุปกรณ์แสดงผล หน่วยคงบคุมจึงจะส่งสัญญาณคำสั่งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ที่กำหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง

3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
     คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อบแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล ถ้าเปรียบเทียบกับร่างกายของมนุษย์โพรเซสเซอร์ก็น่าจะเปรียบเทียบเป็นเหมือนสมองของมนุษย์นั่งเอง ซึ่งคอยคิดควบคุมการทำงานส่วนต่างๆของร่างกาย ดังนั้นถ้าจัดระดับความสำคัญแล้วโพรเซสเซอร์ก็น่าจะมีความสำคัญเป็นอันดับแรก

2. หน่วยความจำ (Memory)
RAM ย่อมาจาก (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output) โดยที่เนื้อที่ของหน่วยความจำหลักแบบแรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
     1. Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
     2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
     3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ
     4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วน นี้ไปที่ละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสังให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ

หน่วยความจำหรือ RAM เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อคุณคิดจะใช้คอมพิวเตอร์ ดังนั้นการพิจารณา เลือกซื้อคอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการ เลือกซื้อชนิดและปริมาณของหน่วยความจำด้วย
ความต้องการหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์นั้นนับวันก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ก็เนื่องมา จากความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ง่ายขึ้นโดยผู้ที่ไม่คุ้นเคย ก็สามารถทำได้ หรือจะเป็นความต้องการทำงานในแบบมัลติมีเดียซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ความต้องการหน่วยความจำเพิ่มมากขึ้น
3.  ส่วนอินพุต/เอาต์พุต(Input/Output)
อุปกรณ์อินพุต (Input device) คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง ๆ จากโลก ภายนอกได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์
อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่างๆ จากภายนอกเครื่องได้ อันได้แก่ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนสั่งงาน ให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามขั้นตอน และข้อมูลที่ต้องใส่เข้าไปพร้อมกับโปรแกรม เพื่อส่งไปให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ตัวอย่างเช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ จอยสติก จอสัมผัส ปากกาแสง กล้องดิจิตอล สแกนเนอร์ เป็นต้น
อุปกรณ์เอาต์พุต (Output device) คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ควบคุมหรือส่งผลออกมาสู่โลกภายนอกได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องเจาะบัตร จอภาพ เครื่องพิมพ์
อุปกรณ์นำข้อมูลออก หรืออุปกรณ์แสดงผล คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ควบคุมหรือส่งผลออกมาสู่ภายนอกตัวเครื่องได้ หลังจากที่คอมพิวเตอร์ได้ทำการประมวลผลแล้ว ก็จะต้องมีวิธีในการนำผลลัพธ์ออกมาแสดง ซึ่งสามารถแบ่งอุปกรณ์แสดงผลนี้ ออกได้เป็น 3 ประเภทคือ อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ชั่วคราว เช่น จอภาพ (Monitor) อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ถาวร เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ถาวรทางด้านกราฟิก เช่น พลอตเตอร์ (Plotter) เป็นต้น
4.  สื่อจัดเก็บข้อมูล  (Storage)
สื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลในอดีตเริ่มตั้งแต่การใช้บัตรเจาะรู ต่อมามีการใช้เทปแม่เหล็กซึ่งสามารถอ่านและเขียนได้รวดเร็วกว่า รวมทั้งยังเก็บรักษาง่ายและมีความจุสูง ต่อมามีการพัฒนาดิสก์(Disk) ขึ้นมา ซึ่งสามารถอ่าน และค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วกว่าเทปแม่เหล็ก ดิสก์ในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ
1.        ดิสก์แบบอ่อน เป็นดิสก์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกบางๆ และมีสารแม่เหล็กเคลือบภายนอก ตัวอย่างดิสก์แบบนี้ เช่น แผ่นดิสก์ขนาด 3.25 นิ้ว ที่เราใช้กันอยู่
2.        ดิสก์แบบแข็ง เป็นแผ่นดิสก์ที่เป็นแผ่นอลูมิเนียม มีสารแม่เหล็กเคลือบอยู่ เช่นฮาร์ดดิสก์ชนิดต่างๆ ดิสก์แบบนี้จะสามารถบันทึกได้มากกว่าดิสก์แบบอ่อน เพราะสามารถบรรจุข้อมูลได้หนาแน่นกว่า และมีความเร็วในการหมุนเร็วมาก ดังนั้นดิสก์แบบนี้จะมีการเก็บที่ดีมาก โดยจะมีกล่องครอบดิสก์ไว้ ไม่ให้มีอากาศ หรือฝุ่นเข้าไปถูกแผ่นดิสก์เลยและในปัจจุบันก็มีอุปกรณ์อีกอย่างที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ เรียกว่า Handy Drive จะเป็นชิปขนาดเล็กที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ภายในได้ มีลักษณะคล้าย ROM แบบเขียนได้ โดยจะติดต่อกับเครื่องผ่านพอร์ต USB ปัจจุบันมีตั้งแต่ขนาด 2, 4, 8,… จนถึง 128 Mb
ดิสก์
ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่าดิสก์มี 2 แบบ โดยมีลักษณะเป็นแผ่นกลมบาง สำหรับโครงสร้างของดิสก์จะมี 3 อย่าง คือ
1.        แทร็ก(Track) เป็นลักษณะที่มีการแบ่งดิสก์ออกเป็นวง หลายๆวง แต่ละวงเรียกว่าแทร็ก โดยจะเริ่มที่แทร็ก 0
2.        เซกเตอร์(Sector) เป็นการแบ่งแทร็กออกเป็นส่วนๆอีกครั้ง หากมองดูแล้วจะเหมืนเป็นการแบ่งดิสก์ออกเป็นส่วนๆโดยใช้เส้นผ่านศูนย์กลาง สำหรับในดิสก์แบบอ่อนจะมีการแบ่งเซกเตอร์ออกตั้งแต่ 8 ถึง 32 เซกเตอร์ ตามแต่ชนิดแผ่น แต่ในดิสก์แบบแข็งอาจมีการแบ่งเป็นหลายร้อยเซกเตอร์ก็ได้ โดยจะเริ่มที่เซกเตอร์ที่ 0 แต่เนื่องจากความกว้างของเซกเตอร์ในส่วนรอบนอกจะกว้างกว่าด้านใน ในบางครั้งจะมีการแบ่งเซกเตอร์ที่อยู่ในส่วนนอกอีกครั้งเพื่อให้มีขนาดที่เหมาะสม
3.        ไซลินเดอร์(Cylinder) เนื่องจากดิสก์แบบแข็งจะมีดิสก์หลายแผ่นเรียงซ้อนกัน เราจะเรียกแทร็ก และเซกเตอร์ ของดิสก์แต่ละแผ่นที่ตรงกันว่า ไซลินเดอร์
หน่วยที่เล็กที่สุดในโครงสร้างของดิสก์คือบล็อก(Block) หรือช่องที่เกิดจากการแบ่งแทร็ก และเซกเตอร์นั่นเอง ซึ่งบล็อกนี้อาจจะมีเนื้อที่ 512 ไบต์ หรือ 1024 ไบต์ ก็ได้ ตามแต่วิธีการจัดการดิสก์
ฮาร์ดดิสก์ ( Hard Disk ) เป็นจานแม่เหล็กชนิดแข็ง ชนิดติดแน่นไม่มีการเคลื่อนที่ สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก เป็น 2 ขนาด คือ                1.  ขนาด 5.25 นิ้ว (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
             2. ขนาด 3.5 นิ้ว
            ทั้ง 2 ขนาดจะมีความจุ ตั้งแต่ 10,20,40,80,120,300,400 MB1 GB,2 GB ฯลฯ ปัจจุบันนิยมใช้ตั้งแต่ 10 GB ขึ้นไป
Data Rate หมายถึง ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากดิสก์ไปสู่สมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ (หรือมีความเร็วในการนำข้อมูลมาจากสมองเครื่องไปบันทึกลงบนดิสก์) มีหน่วยวัดเป็น จำนวนไบต์ต่อวินาที ( Bytes Per Second หรือ bps )
ซีดีรอม (CD-Rom ) เป็นจานแสงชนิดหนึ่ง ใช้เก็บข้อมูลที่มีความเร็วในการใช้งานสูง มี
                        คุณสมบัติดังนี้
    • เป็นสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะมีความจุสูงถึง 2 GB (2 พันล้านไบต์)
    • มีขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
    • ใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ในการอ่านเขียนข้อมูล
    • เป็นจานแสงชนิดอ่านได้อย่างเดียว ( Read Only Memory ) ไม่สามารถเขียนหรือลบข้อมูลได้
3.    หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เก็บผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer)
(Software) หมายถึง โปรแกรมชุดคำสั่งที่เขียนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม ซึ่งมี 2ประเภท คือ
ซอฟแวร์
  1. ซอฟแวร์ควบคุมระบบ
  2. ซอฟแวร์ประยุกต์
  3. (System Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix (Application Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ
        บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการใช้และดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นต้น
ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ต้นแบบของคอมพิวเตอร์ก็คือมนุษย์ การกระทำหรือการแสดงออกของมนุษย์เกิดจากมีการนำข้อมูลเข้า ประมวลผลและ แสดงผล ยังมีการเก็บสำรองข้อมูลซึ่งเป็นหลักการของคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย4 ส่วนคือ
1. หน่วยรับข้อมูลเข้าและคำสั่ง (Input Device)
2. หน่วยประมวลผลกลาง( Central Processing Unit : CPU )
3. หน่วยแสดงผล ( Output Unit )
4. หน่วยความจำ ( memory)
 ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน

  ฮาร์ดแวร์สำคัญ            1. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่พบใน Case ได้แก่
                    1.1 Power Supply
                    1.2 Mainboard และ ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งหรือเป็นส่วนหนึ่งของ Mainboard ที่สำคัญ ได้แก่
                                1.2.1 CPU
                                1.2.2 RAM
                                1.2.3 Expansion Slots
                                1.2.4 Ports
                    1.3 Hard Disk
                    1.4 Floppy Disk Drive
                    1.5 CD-ROM Drive
                    1.6 DVD-ROM Drive
                    1.7 Sound Card
                    1.8 Network Card
            2. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่อยู่นอก Case ที่สำคัญได้แก่
                    2.1 Keyboard
                    2.2 Monitor
                    2.3 Mouse
                    2.4 Printer
                    2.5 Scanner
                    2.6 Digital Camera
                    2.7 Modem
                    2.8 UPS

-ส่วนประกอบของฮารต์แวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่เปรียบเสมือนส่วนสมองของคอมพิวเตอร์คือ หน่วยประมวลผลกลาง( Central Processing Unit : CPU )นั่นเอง
RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผลจะต้องมีไฟเข้า Module ของ RAM ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็น chip ที่เป็น IC ตัวเล็กๆ ถูก pack อยู่บนแผงวงจร หรือ Circuit Board เป็น module
เทคโนโลยีของหน่วยความจำมีหลักการที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน 2 เทคโนโลยี คือหน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDR-SDRAM, DDR-SGRAM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบ SDRAM และ SGRAM และอีกหนึ่งคือหน่วยความจำแบบ Rambus ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีแนวคิดบางส่วนต่างออกไปจากแบบอื่น
รอม (ROM: Read-only Memory หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นหน่วยความจำที่มีซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากหน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น
  • เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
  • ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลข
  • ใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น
หน่วยความจำคอมพิวเตอร์แบบแรม(RAM)และแบบ(ROM)ของหน่วยความจำหลักมีความแตกต่างกันที่
ROM  เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อมูลตายตัว ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้  แม้วงจรจะไม่มีกระแสไฟมาเลี้ยง ข้อมูลภายในยังอยู่ครบ ไม่หายไป  ซึ่งแตกต่างจาก RAM ตรงที่ RAM เป็นหน่วยความจำที่เหมือนสมุดจดบันทึก เป็นหน่วยความจำชั่วคราวที่สามารถทดแทนข้อมูลและคำสั่งใหม่ ๆ ได้ รวมทั้งสามารถขยายความจุได้มาก และข้อแตกต่างสุดท้าย คือ ข้อมูลใน RAM จะสูญหายทั้งหมดทั้งที เมื่อปิดเครื่อง หรือไฟดับ
Hard Disk มี 3 รูปแบบด้วยกัน คือ internal hard disk , hard-disk cartridge และ hard-disk packHard disks ทำมาจากแผ่นโลหะแทนพลาสติก เพื่อป้องกันส่วนที่สำคัญภายใน จากบุคคลอื่น Hard disk เป็นเครื่องมือที่
ละเอียดอ่อนอย่างมาก หัวอ่านและหัวเขียน ทำงานที่ระยะห่างจากแผ่นประมาณ 0.000001 นิ้ว
อย่างมากรอยนิ้วมือ, ผงฝุ่น หรือเส้นผม จะสร้างให้เกิดความเสียหายต่อ head crash ได้
Head crash
จะเกิดเมื่อผิวหน้าของหัวอ่าน-เขียน หรือผงฝุ่นต่าง ๆ สัมผัสกับผิวหน้าของจานแม่-เหล็ก
อาจทำให้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดบน disk ถูกทำลาย hard disk ถูกรวบรวมไว้ในแบบที่ความจุแบบคงทนถาวร
ปกป้องจากสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่พึงประส
ค์
Internal Hard Disk

ประกอบด้วย แผ่นจานโลหะแผ่นเดียวหรือหลายแผ่น ผนึกอยู่ในกล่องบรรจุ ที่บรรจุ Hard disk ประกอบด้วย มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก  Access arm และ หัวอ่าน-เขียน สำหรับอ่านและเขียนข้อมูลลงแผ่น disk เหมือนแผ่น floppy disk Internal Hard Disk ทำการ seek และ search สำหรับการอ่านและเขียนข้อมูลลงใน track และ sector ของแผ่น ถ้ามองจากภายนอก Internal hard disk อาจมองเหมือนส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ ภายในเป็นแผ่นจานโลหะขนาด 3.5 นิ้ว และ Access arm ที่เคลื่อนที่ขึ้นลง Internal Hard Disk มีคุณสมบัติเด่นอยู่ 2 ประการ คือ ความจุและความเร็ว ( speed ) Hard Disk สามารถรับข้อมูลจาก Floppy Disk ได้มากมายหลายครั้ง HDD ความจุ 850 MB สามารถรับข้อมูลจากแผ่น floppy disk ขนาด 3.5 นิ้ว HD Double Sided ได้ถึง 590 แผ่น Internal HDD บางอัน สามารถจุข้อมูลได้ถึง 1 GB หรือมากกว่านั้น และเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วกว่า HDD มีความเร็วรอบในการหมุนมากกว่าแผ่นดิสก์เก็ต
HDD Cartridges
ข้อเสียของ Hard Disk คือ ไม่สามารถโยกย้ายหรือเคลื่อนย้ายได้ HDD Cartridge จึงมีประโยชน์ในข้อที่ว่าสามารถเคลื่อนย้ายได้ เหมือนจากเทปจากเครื่องเล่นเทป และสามารถระบบของ microcomputer เข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่ได้ ความจุของ HDD ชนิดนี้ขึ้นอยู่กับ หมายเลขของ Cartridges ตัวอย่างเช่น HDD Cartridge มีความจุถึง 200 MB แต่ขณะที่ระบบของ HDD มีการบันทึกไว้ใน HDD อย่างถาวร และใช้ได้อย่างไม่จำกัด คุณสามารถซื้อมาใช้ได้อีก HDD 20 MB palm-sized มีน้ำหนักประมาณ 7 ออนซ์และสามารถย้ายจาก laptop เครื่องหนึ่งไปยัง laptop อีกเครื่องหนึ่งได้อย่างง่ายดาย
HDD Packs
Microcomputer , Minicomputer หรือ Mainframes มีการเข้าถึง ( ใช้ ) external HDD Packs บ่อย ๆ Microcomputer HDD drive ทั่วไปแล้วจะมีแผ่นจานแม่เหล็ก 1-2 แผ่น และ access arm 1-2 อัน แต่ HDD packs ประกอบด้วย แผ่นจานแม่เหล็กมากกว่า 1 แผ่น เรียงกันหรือซ้อนกันเป็นเส้นตรง ( ทรงกระบอง ) ด้วยวิธีนี้จึงได้ความจุที่สูงกว่า HDD pack เหมือนกับ stack ของ phonograph record ความแตกต่างก็คือ ช่องว่างระหว่าง disk จะมี Access arm อยู่และหัวอ่านสำหรับอ่านและเขียน ( read-write heads ) 2 หัว 1 หัวใช้สำรับอ่านผิวจานด้านบนและอีก 1 หัวสำหรับอ่านด้านล่าง HDD pack ที่มีแผ่นจาน 11 แผ่น จะมีด้านสำหรับบันทึก 20 ด้าน เพราะผิวหน้าด้านบนและล่างของแผ่นจานไม่นำมาใช้ Access arm จะทำการเคลื่อนที่พร้อมกันทั้งหมด แต่จะมีเพียงหัว อ่าน-เขียน เพียงอันเดียวที่ถูกใช้งาน
Access Time คือ เวลาระหว่างที่ computer เข้าถึงข้อมูลได้โดยการใช้โทรศัพท์ หรือทางสายโทรคมนาคมทั้งหมด เช่นนั้น ข้อมูลที่เหมาะควรจะถูกบันทึกไว้ที่ disk pack จากตัวอย่างข้อมูลที่มีปริมาณมาก ๆ เช่น ฐานข้อมูลกว่า 300 ตาราง ฐานข้อมูลครอบคุมถึง ศาสตร์ต่าง ๆ, เทคโนโลยีนักธุรกิจ , ยา , สังคมศาสตร์ , เรื่องในปัจจุบัน , มนุษย์ศาสตร์ ทั้งหมดนี้สามารถเชื่อมต่อกับ PC ทั้งหมดนี้มีมากกว่า 100 ล้านข้อมูล
ฮาร์ดดิสก์ ทำหน้าที่เป็นคลังเก็บข้อมูลของระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และข้อมูลต่างๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์  สามารถเก็บข้อมูลได้มากและเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยง  นอกจากนี้พื้นที่ของฮาร์ดดิสก์บางส่วนของฮาร์ดดิสก์ยังถูกจำลองให้เป็นแรมเสมือนหรือ Virtual Memory 
เมกะไบต์ (อังกฤษ: megabyte) เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) หรือบางครั้งอาจพูดหรือเขียนเป็น เม็ก หรือ meg
เนื่องจากความไม่สม่ำเสมอในการใช้อุปสรรคฐานสองในการนิยามและการใช้งาน ฉะนั้น ค่าแม่นตรงของกิโลไบต์ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปอาจเป็นค่าใดค่าหนึ่งจากค่าดังต่อไปนี้:-
  1. 1,000,000 ไบต์ (10002, 106) : นิยามนี้นิยมใช้ใช้ในบริบทของระบบข่ายงานและการระบุความจุของฮาร์ดแวร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ และดีวีดี นิยามนี้สอดคล้องกับการใช้อุปสรรค (คำนำหน้าหน่วย) ในหน่วยเอสไอ ตลอดจนการใช้อุปสรรคในวงการคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป
  2. 1,024,000 ไบต์ (1,024×1,000) : นิยามนี้ใช้ในการระบุความจุของหน่วยเก็บบางชนิด ที่รู้จักกันดีที่สุด ได้แก่ แผ่นฟลอปปีดิสก์ชนิดความหนาแน่นสูง ความจุ "1.44 MB" (1,474,560 ไบต์) ขนาด "3.5 นิ้ว" (อันที่จริงคือ 90 mm)
  3. 1,048,576 ไบต์ (10242, 220) : นิยามนี้ใช้ในการระบุความจุของหน่วยความจำแทบทุกชนิดในคอมพิวเตอร์ (เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ การผลิตหน่วยความจำหลักนั้นจะเพิ่มความจุเป็นสองเท่าได้ง่ายที่สุด) และแผ่นซีดี ในปี พ.ศ. 2548 พบว่าซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ใช้นิยามนี้ในการแสดงความจุของหน่วยเก็บ ปริมาณตามนิยามนี้มีค่าเท่ากับหนึ่งเมบิไบต์
      จิกะไบต์ (gigabyte) หรือ จิกะไบต์ ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์
    จิกะไบต์ มีขนาดอ้างอิงหลัก ๆ ได้สองอย่างคือ
    เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างสองความหมายข้างต้น หน่วยงานมาตรฐาน IEC แนะนำให้เรียกปริมาณ 1,073,741,824 ไบต์เป็นชื่อใหม่ว่า จิบิไบต์ หรือ กิบิไบต์ (gibibyte) และใช้ตัวย่อว่า GiB แทน ในขณะที่ปริมาณ 1,000,000,000 ไบต์ยังคงใช้ จิกะไบต์ตามเดิม
ความหมายของ Pixel
ในโลกของกราฟิกที่ใช้ในงานคอมพิวเตอร์ Pixel ถือเป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของรูปภาพ เป็นจุดเล็กๆ ที่รวมกันทำให้เกิดภาพขึ้น ภาพหนึ่งจะประกอบด้วย Pixel หรือจุดมากมาย ซึ่งแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดหนือ Pixel เหล่านี้แตกต่างกันไป ความหนาแน่นของจุดนี้เป็นตัวบอกถึงความละเอียดของภาพ โดยมีหน่วยเป็น ppi (Pixel Per Inch) คือ จำนวนจุดต่อนิ้ว Pixel มีความสำคัญต่อการสร้างภาพของคอมพิวเตอร์มาก เพราะทุกส่วนของกราฟิก เช่น จุด เส้น แบบลายและสีของภาพนั้นเริ่มจาก Pixel ทั้งสิ้น เมื่อเราขยายภาพจะเห็นเป็นภาพจุด โดยปกติแล้ว ภาพที่มีความละเอียดสูงหรือคุณภาพดีควรจะมีค่าความละเอียด 300 X 300 ppi ขึ้นไป ยิ่งค่า ppi สูงขึ้นเท่าไร ภาพก็จะมีความละเอียดคมชัดขึ้นมากขึ้นเท่านั้น ขณะเดียวกันจุดหรือ Pixel แต่ละจุดก็จะแสดงคุณสมบัติทางสีให้แก่ภาพด้วย โดยแต่ละจุดจะเป็นตัวสร้างสีประกอบกันเป็นภาพรวม ซึ่งอาจมีขนาดความเข้มและสีแตกต่างกันได้ ทำให้เกิดเป็นภาพที่มีสีสันต่างๆ การแสดงผลของอุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์แบบ Dot-matrix หรือแบบ Laser รวมทั้งจอภาพ จะเป็นการแสดงผลแบบ Raster Devices นั่นคือ อาศัยการรวมกันของ Pixel ออกมาเป็นรูป
เฮิรตซ์ (อังกฤษ: hertz ย่อว่า Hz) เป็นหน่วย SI ของค่าความถี่ โดย 1 Hz คือความถี่ที่เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ
1Hz = 1 / S
ดังนั้น 50 Hz หมายถึงมีความถี่เท่ากับ 50 ครั้งต่อ 1 วินาที
หน่วยความถี่อื่น ๆ ได้แก่ เรเดียนต่อวินาที (radian/second, rad/s) และ รอบต่อนาที (revolutions per minute, RPM)
hertz มาจากชื่อนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ชื่อ Heinrich Rudolf Hertz เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้าน แม่เหล็กไฟฟ้า
หน่วย hertz ได้กำหนดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) แล้วเริ่มมาใช้แทน หน่วย รอบต่อวินาที (cycles per second หรือ cps) ในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) หน่วย Hz ได้ใช้ทดแทนการใช้ cps แทบทั้งหมด
          จอภาพจะทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ แต่สำหรับจอภาพที่เป็นชนิดพิเศษ เช่น Touch screen (จอภาพแบบสัมผัส) จะสามารถทำงานได้ทั้งการรับและการแสดงผลข้อมูล เนื่องจากเครือบจอภาพด้วยสารพิเศษที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้นิ้วสัมผัสบนจอภาพเพื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบได้ทันที แทนที่จะใช้การพิมพ์ทางแป้นพิมพ์ หรือสั่งงาน ด้วยการคลิกเมาส์เพื่อลดขนาดพื้นที่การใช้งาน
แป้นพิมพ์ (Keyboard)

แป้นพิมพ์ หรือ (Keyboard) เป็นส่วนหนึ่งของไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เราจะต้องใช้บ่อย ถ้าเราแยกองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ก็จะมีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ
1. หน่วยรับข้อมูล หรือ Input Unit
2. หน่วยประมวลผลหรือ Processing Unit
3. หน่วยแสดงข้อมูล หรือ Output Unit
หน่วยที่รับข้อมูลก็ได้แก่ เมาส์ (Mouse) แป้นพิมพ์ (Keyboard) กล้องดิจิตอล เครื่องสแกน (Scanner)และฯลฯ
หน่วยประมวลผล หรือ CPU (Central Pocessing Unit)
หน่วยแสดงข้อมูล ได้แก่ จอภาพ (มอนิเตอร์ (Monitor)) เครื่องพิมพ์ (Printer)และฯลฯ
แป้นพิมพ์มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่จะพิมพ์คำสั่ง เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน จึงน่าจะรู้องค์ประกอบของแป้นพิมพ์ และปุ่มหรือแป้นต่าง ๆ ว่าทำหน้าที่อะไร
ถ้าเราแบ่งแป้นพิมพ์ (keyboard) แบ่งออกได้ 3 ส่วนคือ
1. คีย์พิเศษ (Function Key)
2. คีย์ตัวเลข (Numeric Key)
3. คีย์อักขระ (Character Key)
Function Key หรือ คีย์พิเศษ ประกอบไปด้วย แป้น F1ถึง F12 แป้น F1 มักเป็นแป้นบอกวิธีใช้โปรแกรมนั้นๆ หรือ Help ส่วนแป้นอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละโปรแกรม หรือบางโปรแกรมเราสามารถกำหนดค่าแป้น หรือคีย์พิเศษเหลานี้ ได้ตามความต้องการแป้นคีย์พิเศษ มักจะอยู่แถวบนสุดของแป้นพิมพ์
กลุ่มแป้นพิมพ์ด้านขวาสุดจะเรียกว่า Numeric & Edit Key เรามาศึกษากลุ่มแป้นพิมพ์ Numeric Key ก่อน หรือ กลุ่มแป้นตัวเลขซึ่งประกอบด้วยเลข 0-9 ถ้าสังเกตจะเห็นว่าแป้นพิมพ์ทั้งชุดจะวางตัวเลขเหมือนเครื่องคิดเลข และมีแป้นอื่นร่วมคือ Num Lock ใช้สำหรับกดเพื่อให้สามารถใช้ตัวเลขได้ ถ้าเราสังเกตสักนิดจะเห็นว่าสถานะของ Num Lock ทำงาน กดตัวเลขไหนก็จะเป็นตัวเลขนั้น โดยสังเกตจากไฟแสดงที่ มุมขวาตรง Num Lock

แป้น / ( Slack) เป็นแป้นให้เครื่องหมายหาร คงแตกต่างจากเครื่องคิดเลขบ้างในลักษณะที่ไม่ใช้เครื่องหมาย ¸ (หาร) แบบทั่วไป
แป้น * (ดอกจัน) เป็นแป้นให้เครื่องหมายคูณ
แป้น – (ลบ) เป็นแป้นให้เครื่องหมายลบ
แป้น + (บวก) เป็นแป้นให้เครื่องหมายบวก
แป้น Enter หมายถึง รับคำสั่งหรือผลลัพธ์
แป้น . (จุด) หมายถึงให้เครื่องหมายจุด รวมทั้งจุดทศนิยม
แป้น Num Lock ถ้าไม่ได้ใช้แป้นค่าตัวเลขจะไม่แสดงแต่จะแสดงคำสั่งที่อยู่ด้านล่างของแป้น เช่นกด 6 ก็จะให้เลื่อนเคอร์เซอร์ไป 1 อักขระ
เลื่อนมาอีกนิดทางซ้ายมือ จะเห็นกลุ่มปุ่มแป้นอยู่ 13 ปุ่ม ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Numeric & Edit Key กลุ่มนี้คือกลุ่ม Edit Key ประกอบด้วย
แป้น Print Screen สั่งพิมพ์ตัวอักษรหรือภาพที่เห็นในหน้าจอ ออกมาทางเครื่องพิมพ์
แป้น Scroll Lock มักกำหนดค่าด้วยโปรแกรมแต่ละโปรแกรม หรือใช้ขัดจังหวะในการทำงาน
ไฟ Scroll Lock มักจะอยู่แถวเดียวกับไฟ Num Lock และ Scroll Lockและ Caps Lock
แป้น Pause หมายถึงหยุด ในกรณีที่ข้อความกำลังไหลในหน้าจอหรือ หยุดเครื่องพิมพ์
ปัจจุบันแป้นพิมพ์สมัยใหม่ได้ตัดปุ่มทั้ง 3 ดังกล่าวออกแล้ว
แป้น Insert หมายถึง แทรกข้อความเพิ่ม มักใช้ในโปรแกรม Words หรือ Dos ถ้าไม่กดปุ่ม Insert ก่อนจะทำให้เกิดการพิมพ์ทับข้อความที่มีอยู่แล้ว ในกรณีอยู่ที่ โปรแกรม Words ถ้าดูที่ Status Bar จะแสดงสถานะ OVR หรือ Insert ขึ้น
แป้น Home หมายถึง ย้ายไปยังจุดเริ่มต้นของบรรทัด
แป้น End หมายถึง ย้ายไปจุดสุดท้ายของบรรทัด
กรณีใช้ร่วมกับ Ctrl + Home เท่ากับย้ายไปจุดเริ่มต้นของเอกสารในกรณีที่ใช้ใน Words
Ctrl + End เท่ากับย้ายไปสุดท้ายของเอกสาร
แป้น Page Up ย้ายตำแหน่งเคอร์เซอร์ขึ้นไปด้านบนทีละ 1 หน้า
แป้น Page Down ย้ายตำแหน่งเคอร์เซอร์ลงไปด้านล่างทีละ 1 หน้า
มองลงด้านล่างของกลุ่ม Numeric & Edit Key จะเห็นกลุ่มแอโรคีย์ มีอยู่ 4 ปุ่ม
แป้นลูกศร ชี้ขึ้นข้างบน ­ เลื่อนเคอร์เซอร์ขึ้นไป 1 บรรทัดทุกครั้ง

แป้นลูกศรชี้ลงมา ¯ เลื่อนเครอ์เซอร์ลงมา 1 บรรทัดทุกครั้ง
แป้นลูกศรชี้ไปทางซ้าย ¬ เลื่อนคอร์เซอร์ไปทางซ้าย 1 ตัวอักษร
แป้นลูกศรชี้ไปทางขวา ® เลื่อนเคอร์เซอร์ไปทางขวา 1 ตัวอักษร

กลุ่มสุดท้าย กลุ่มที่ 3 คือกลุ่ม Character Key กลุ่มนี้มีแป้นเยอะมาก กลุ่มนี้จะเหมือนกับพิมพ์ดีดภาษาไทย และภาษาอังกฤษ การวางแป้นพิมพ์เหมือนกันหมด เป็นมาตรฐาน จะแตกต่างจากแป้นพิมพ์ดีดก็เพียงแต่ว่าจะมีแป้นพิเศษต่าง ๆ เพิ่มเข้ามา เริ่มจากด้านซ้ายมือบนสุด
แป้น Escape (Esc) มีหน้าที่ช่วยในการแก้ไขสถานการณ์ เช่น ทำอะไรผิดก็กด Escape
แป้น Accent Switch ใช้เปลี่ยนสลับภาษาไทย-อังกฤษ โดยกดแล้วสังเกตที่ Task Bar ของจอคอมพิวเตอร์จะแสดง Th หรือ En
แป้น Tab ทำหน้าที่เลื่อนจังหวะการพิมพ์ออกเป็นระยะ เช่น ย่อหน้า เว้นช่อว่างในการทำตาราง
แป้น Caps Lock ใช้ยกแคร่ถาวร กรณีใช้อักขระภาษาอังกฤษตัวใหญ่ ภาษาไทยจะเป็นตัวอักษรแป้นบนหมด Caps Lock จะมีไฟแสงสว่างแสดงเสมอ
แป้น Shift ทำหน้าที่ยกแคร่ชั่วคราว ใช้ได้เฉพาะขณะกดแช่แป้น มีทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา
แป้น Control (ctrl) ใช้ร่วมกับแป้นอื่นโดยกดแช่ไว้แล้วกดแป้นอื่นแล้วปล่อยพร้อมกัน มีทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา
แป้น Windows หมายถึงสลับจาก Dos ไป Windows
แป้น Alternate (Alt) ใช้ร่วมกับแป้นอื่น ขึ้นอยู่กับแต่ละโปรแกรม เราจะใช้แป้น Control + Alternate + delete เป็นการ Reset เครื่อง
แป้นที่ยาวที่สุด คือ Space Bar ใช้ในการเคาะเว้นวรรค
แป้นที่ใหญ่ที่สุด คือ Enter (¿) หมายถึง รับคำสั่ง หรือปัดแคร่
แป้น Back Space ใช้เลื่อนเคอร์เซอร์ ลบตัวอักษรทางด้านซ้ายมือทีละ 1 ตัวอักษร หรือเลื่อนเคอร์เซอร์ไปด้ายซ้าย ถ้าอ่านแล้วศึกษา แป้นพิมพ์ที่อยู่หน้าท่านไปด้วยก็จะเข้าใจมากขึ้น การใช้แป้นพิมพ์ขึ้นอยู่กับทักษะ การใช้บ่อยๆ จะทำให้เกิดความชำนาญ ผู้ที่มีทักษะในการใช้แป้นพิมพ์ส่วนมากมักจะไม่ละมือจากแป้นพิมพ์ไปใช้ เมาส์เลย เพราะในแป้นพิมพ์สามารถใช้แทนเมาส์ได้เกือบทุกคำสั่ง
เมาส์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ (pointing device) เป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน ต่างๆกัน บางรุ่นมีไฟประดับให้สวยงาม เพื่อให้เมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภทและความชื่นชอบของผู้ใช้ เช่นมีขนาดเล็ก มีส่วนโค้งและส่วนเว้าเข้ากับอุ้งมือของผู้ใช้ มีรูปร่างสีสันแปลกตาไปจากรุ่นทั่วๆไป หรือเป็นรูปตัวการ์ตูน และล่าสุดได้มีการพัฒนา เมาส์อากาศ (Air Mouse) ซึ่งสามารถใช้งานเมาส์โดยถือขึ้นมาเอียงไปมาในอากาศโดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรอง ก็สามารถควบคุมตัวชี้ได้เช่นกัน
การทำงานของเมาส์ ภายในตัวเมาส์จะมีอุปกรณ์สำหรับตรวจจับตำแหน่งการเคลื่อนไหวของลูกกลิ้งยาง(สำหรับรุ่นเก่า)หรืออุปกรณ์ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแสง (ในเมาส์ที่ใช้แอลอีดีหรือเลเซอร์เป็นแหล่งกำเนิดแสง) โดยตัวตรวจจับจะส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของตัวชี้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์
การเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ การใช้งานเมาส์ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีการต่อมันเข้ากับช่องต่อของคอมพิวเตอร์ ซึ่งในยุคแรกๆนั้นช่องสำหรับต่อเมาส์จะมีลักษณะเป็นหัวกลมใหญ่ภายในมีขาเป็นเข็มเรียกว่าแบบ DIN ต่อมามีการพัฒนาช่องต่อเป็นแบบหัวเข็มที่เล็กลงเรียกว่า PS/2 แต่การเชื่อมต่อทั้งสองแบบนั้นไม่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลากหลาย จึงมีการพัฒนาช่องต่อแบบ USB ขึ้นมา และในเวลาใกล้ๆกันก็ได้มีการพัฒนาการเชื่อมต่อเมาส์แบบไร้สายขึ้นมาโดยใช้สัญญาณวิทยุเป็นตัวเชื่อมต่อแทนสายเรียกว่า เมาส์ไร้สาย (Wireless mouse)
เมาส์ได้ชื่อมาจากรูปร่างของตัวมันเอง และสายไฟ ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนู (Mouse) และหางหนู และขณะเดียวการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอมีลักษณะการเคลื่อนที่ไม่มีทิศทางเหมือนการเคลื่อนที่ของหนู